“เอสเอพี”เปลี่ยนแนวรบใหม่ งัดมาร์เก็ตติ้งออนไลน์เสริม

เอสเอพี ปรับกลยุทธ์ตลาด เลือก “มาเก็ตติ้ง ออนไลน์” เสริมความแกร่งเข้าถึงลูกค้า และขยายตลาด เหตุพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยน ชอบค้นคว้า เปรียบเทียบข้อมูลและทดลองบริการผ่านเน็ตสูง หากเปิดเกมตลาดออนไลน์จะเข้าถึงลูกค้าง่ายขึ้น นายคริส ฮัมเมล รองประธานอาวุโส สายงานการตลาดระดับภูมิภาค เอสเอพี (SAP) เอเชีย แปซิฟิค และ ญี่ปุ่น กล่าววว่า ในปี 2008 นี้ เอสเอพี จะปรับกลยุทธ์การทำตลาดและการเข้าถึงลูกค้า โดยนำเอาระบบออนไลน์มาใช้เป็นประโยชน์ต่อการทำตลาด และวิธีส่งเสริมการขาย จากเดิมอาศัยพันธมิตร หรือคู่ค้า มาเป็นผู้ดำเนินการนำเสนอระบบซอฟต์แวร์หรือโซลูชั่น ในแต่ละกลุ่มระดับผู้ใช้งาน เช่น เอนเทอร์ไพร้ซ์ องค์กรขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) กลุ่มอุตสาหกรรม เป็นต้น การปรับปรุงระบบการบริหารจัดการทางตลาดใหม่ เนื่องจาก เอสเอพี ต้องการปรับปรุงการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการเข้าถึงลูกค้าในช่องทางใหม่ ที่ระบบออนไลน์จะช่วยให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ พร้อมเปรียบเทียบความแตกต่าง ที่ระบบให้บริการออนไลน์จะสามารถแยกกลุ่มชนิดความต้องการจากลูกค้าได้ดีกว่า จากการค้นหาของตัวลูกค้าเอง และสามารถเข้าถึง ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ All Way On ที่ปัจจุบันลูกค้ามีพฤติกรรมความต้องการในทุกเวลา และ ต้องการได้ข้อมูล ในเวลาที่ต้องการมากที่สุด จึงทำให้การทำธุรกรรมออนไลน์ เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ของ เอสเอพี นำเข้ามาประยุกต์เสริมความแข็งแกร่งทางการตลาด ทั้งนี้ การทำตลาดในรูปออนไลน์จะช่วยให้ลูกค้าสามารถสัมผัส ทดลองใช้โซลูชั่นต่าง ในแต่ละกลุ่ม ของ เอสเอพี ได้อย่างเข้าใจ และลดความเสี่ยงจากการตัดสินใจลงทุนจัดหาโซลูชั่น เพื่อมาตอบสนองต่อการดำเนินธุรกิจ ที่จะได้ระบบโซลูชั่นตามที่ต้องการ จากที่ทดลองใช้งาน และยังสามารถกำหนดกิจกรรม ทางตลาดได้สะดวก กับการเข้าหาแหล่งลูกค้า รวมถึงการนำเสนอในสิ่งที่ต้องการเลือกใช้งานจากระบบออนไลน์ “แนวทางการทำงานดังกล่าวช่วยลดภาระของพันธมิตรในการพัฒนาและค่าติดตั้งระบบซอฟท์แวร์ ทั้งยังทำให้บริษัทพันธมิตรสามารถส่งมอบโซลูชั่นซอฟท์แวร์ที่มีประสิทธิภาพและมีราคาที่เหมาะสมให้แก่ลูกค้า จากที่แต่ละรายได้ทำการศึกษาและเปรียบเทียบผ่านระบบออนไลน์มาแล้วก่อนหน้านี้” สำหรับโซลูชั่นเอสเอพี ได้ร่วมกับพันธมิตรในการออกแบบและพัฒนาโซลูชั่นให้สอดคล้องกับความต้องการอย่างส่วนของการนำไปใช้งานในประเทศไทย โซลูชั่นที่พัฒนาออกมาสามารถใช้งานได้ง่าย รวดเร็ว เต็มเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ รวบรวมทุกโซลูชั่นที่องค์กรธุรกิจของไทยต้องการ ได้แก่ แผนผังแสดงรายการบัญชีประเภทต่างๆ ระเบียบด้านภาษี อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และกฎ ระเบียบต่างๆ รวมถึงการจัดการด้านการขาย จัดซื้อ สินค้าคงคลัง ไม่เว้นแต่ระบบการดูแลลูกค้าสัมพันธ์ ดังนั้นด้วยกระบวนการทำงานแบบเป็นขั้นตอนซึ่งได้รับการยอมรับ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยกำหนดความชัดเจนของขอบเขตการทำงาน และลดความเสี่ยงได้อย่างดี

โดย ผู้จัดการออนไลน์
15 มกราคม 2551 11:06 น.

วิธีฆ่าไวรัส Image.zip บน MSN "Hey m8, who is this on the right, in this picture..."


ภาพเหตุการณ์ขณะข้อความ Hey m8, who is this on the right, in this picture... ถูกส่งมาพร้อมไวรัส ภาพประกอบจาก teenee.com
Edited - ใครที่จู่ๆได้รับข้อความภาษาอังกฤษพร้อมไฟล์ภาพ Image.zip ทางเอ็มเอสเอ็น (MSN) แล้วกดรับไฟล์มาเก็บไว้ที่เครื่อง บทความนี้จะตอบคำถามที่ว่าจะทำอย่างไรให้เครื่องหยุดส่งไฟล์ต่อไปยังรายชื่ออื่นๆที่เรามีอยู่อย่างอัตโนมัติได้อย่างไร สำหรับใครที่ยังไม่เคยได้รับ บทความนี้ถือเป็นอุทาหรณ์เตือนภัยล้อมคอกก่อนวัวหาย ข้อความภาษาอังกฤษที่มาพร้อมไวรัสตัวนี้มีหลายเวอร์ชัน ได้แก่ LOL, you look so ugly in this picture, no joke... (555 คุณดูทุเรศมากเลยในรูปนี้อ่ะ ไม่ได้พูดเล่นนะ) Should I put this on facebook/myspace? (ฉันเอารูปนี้แปะในแฟชบุ๊ก/มายสเปซดีไหม) Hey m8, who is this on the right, in this picture... (เฮ้ ขวามือในรูปนี้ใครอ่ะ) Sup, seen the pictures from the other night? (ดูรูปคืนอื่นๆรึยัง) ข้อความเอ็มเอสเอ็นภาษาอังกฤษเหล่านี้เชิญชวนให้ผู้รับกดรับไฟล์ Image.zip ที่ส่งตามมา ใครกดรับไฟล์ซิปแล้วถอดไฟล์คุณอาจติดเชื้อไวรัสตัวนี้ไปเรียบร้อยแล้ว จากประสบการณ์ไวรัสจะยังไม่ทำงานทันทีที่รับไฟล์ แต่จะเริ่มทำงานเมื่อผู้ใช้เปิดไฟล์ในซิป อาการหลังติดไวรัส คือหลังจากคุณแตกไฟล์ซิปแล้ว เครื่องคุณมีอาการทำงานช้าลงจนถึงค้างไปชั่วขณะ หน้าจอกระพริบเล็กน้อย จากนั้นเครื่องจะทำงานเป็นปกติ แต่เพื่อนๆของคุณจำนวนมากจะส่งข้อความมาถามพร้อมกันโดยไม่ได้นัดหมาย ว่านี่คือไฟล์อะไร ซึ่งแน่นอนว่าคุณยังไม่ทันได้คลิกส่งอะไรไปเลย
เรามีวิธีฆ่าไวรัสเพื่อไม่ให้เครื่องส่งข้อความและไฟล์ไวรัสไปให้เพื่อนผู้เคราะห์ร้ายคนอื่นๆจำนวน 2 วิธี ขอขอบคุณเว็บไซต์ teenee.com ที่นำวิธีแก้ไขของคุณ fwmail มาโพสต์ไว้
วิธีที่ 1. คือการกำจัดแบบ Manual เริ่มที่
1. กด ctrl + Alt + del เพื่อเรียก task manager
2. ดูที่ process list ว่ามี winlog32.exe หรือไม่ ถ้ามีให้ end task ไป
3. ไปดูที่ start => run พิมพ์ว่า msconfig แล้ว enter
4. ไปที่ แท๊บ start up ดูหา Winlog32.exe ให้ uncheck มัน แล้ว กด OK ยังไม่ต้อง restart
5. เข้า Start => Search แล้วไป search ที่ drive c: หาไฟล์ winlog32.* ถ้าเจอ winlog32.exe - ให้ลบทิ้งไป
6. restart Windows อีกครั้ง
วิธีที่ 2. การกำจัดแบบอัตโนมัติ ก่อนอื่นต้องดาวน์โหลดโปรแกรม MSN_Worm_Remover.exe จาก http://www.thaicert.org/advisory/alert/msnworm/MSN_Worm_Remover.exe ขนาดไฟล์ 111,104 ไบต์ จากนั้นรันไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาโดยการดับเบิลคลิ๊กไฟล์ MSN_Worm_Remover.exe ขอให้โชคดีกับการฆ่าไวรัสจ้ะ
**หมายเหตุผู้เขียน คำว่า LOL ย่อมาจาก laugh out loud หรือ 555 ในภาษาไทย ขอขอบคุณคุณ gg ความคิดเห็นที่ 9 ที่ให้ความรู้ ผู้แปลขออภัยอย่างสูงค่ะ

โดย ผู้จัดการออนไลน์
6 สิงหาคม 2550 19:14 น.

UCS อบรมเทคโนฯป้องกันศึกโจมตีเครือข่าย

บริษัท จักรวาลคอมมิวนิเคชั่น ซีสเท็ม จำกัด (UCS) นำเทคโนโลยีระบบรักษาความปลอดภัยในองค์กรด้านการป้องกันความเสี่ยงหรือการโจมตีระบบเครือข่ายมาให้ความรู้ โดยจัดฝึกอบรมในหัวข้อ “Intrusion Prevention in Today Network # 2” ณ ห้องฝึกอบรม บริษัทUCS การอบรมครั้งนี้มีการนำความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงของอุปกรณ์ McAfee ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยลดความเสี่ยงให้กับองค์กรผู้ให้บริการและธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMB) ด้วยการนำโซลูชั่น IPS ที่ครอบคลุมการทำงานอย่างครบถ้วน และยังสามารถป้องกันจุดล่อแหลมในโครงสร้างเครือข่ายของคุณจากภัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยที่รู้จักกันดี หรือยังไม่เป็นที่รู้จัก รวมไปถึงป้องกันการโจมตีแบบ DoS, แบบเข้ารหัส, สปายแวร์, ช่องโหว่ใน VoIP, บอตเน็ต, มัลแวร์, เน็ตเวิร์กเวิร์ม, โทรจัน และจากแอพพลิเคชั่น peer-to-peer ให้สามารถเลือกนำไปใช้ในองค์กรได้อย่างเหมาะสม ภายในงานยังมีการนำความรู้ของการใช้อุปกรณ์ Intrusion Prevention ในระบบมาใช้ในองค์กร รวมถึงการ Integrate กันของ Foundstone และ ePo เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงาน มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท McAfee และบริษัท UCS มาให้ความรู้กับผู้เข้าอบรม สาธิตการติดตั้งและการใช้งานของอุปกรณ์ ได้รับความสนใจจากผู้ที่มาร่วมเข้าฝึกอบรมเป็นอย่างมาก

โดย ผู้จัดการออนไลน์
27 ธันวาคม 2550 18:01 น.
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9500000154370