
29 พฤศจิกายน 2550 ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้ฤกษ์เปิดตัวชุดซอฟต์แวร์ Microsoft Unified Communications ยึดหัวหาดผู้นำในการออกแบบการสื่อสารสำหรับการทำงาน พร้อมช่วยลดค่าใช้จ่ายการใช้งาน VoIP เฉลี่ยขององค์กรลงครึ่งหนึ่ง “อีก 10 ปีข้างหน้านวัตกรรมเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนโดยความสามารถของซอฟต์แวร์จะเข้ามาเปลี่ยนโฉมหน้าการสื่อสาร ด้วยการผนึกกำลังกับคู่ค้า เราจะทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วซึ่งจะทำให้พื้นฐานของการติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกันในองค์กรเป็นไปอย่างก้าวหน้ายิ่งขึ้น” นางสาวปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว ด้วยความร่วมมือกับลูกค้าและคู่ค้า ผู้บริหารไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวชุดซอฟต์แวร์ Microsoft Unified Communications และซอฟต์แวร์ VoIP ซึ่งประกอบไปด้วย
Microsoft® Office Communications Server 2007 ซอฟต์แวร์ที่รวม VoIP วิดีโอ ข้อความสำเร็จรูป การจัดการการประชุม การนำเสนอด้วยแอพลิเคชั่นที่ผู้ใช้งานรู้จักและใช้งานอยู่เป็นประจำอย่างแอพลิเคชั่น Microsoft Office system และ Microsoft Dynamics™ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์วางแผนทรัพยากรสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ และ Microsoft CRM ที่กำลังจะออก เวอร์ชั่นใหม่เร็วๆ นี้
Microsoft Office Communicator 2007 ซอฟต์แวร์ลูกข่ายสำหรับการสื่อสารผ่านโทรศัพท์ ข้อความสำเร็จรูป และวีดีโอ ที่ทำงานร่วมกันผ่านคอมพิวเตอร์พีซี โทรศัพท์เคลื่อนที่ และเว็บ บราวเซอร์
Microsoft Office Live Meeting บริการจัดการการประชุมล้ำสมัยเวอร์ชั่นใหม่ของไมโครซอฟท์ที่จะช่วยบุคลากรในการจัดการประชุม แลกเปลี่ยนเอกสาร ดูภาพจากวีดีโอ บันทึกการสนทนาจากการใช้งานคอมพิวเตอร์เครื่องใดๆ ก็ตาม
Service pack update to Microsoft Exchange Server 2007 ผู้นำในอุตสาหกรรมอีเมล ข้อความเสียง ตารางนัดหมายและแพล็ตฟอร์มข้อความแบบรวมศูนย์ “ชุดซอฟต์แวร์ Microsoft Unified Communications จะเปลี่ยนโฉมการสื่อสารสำหรับธุรกิจเช่นเดียวกันกับปรากฎการณ์ที่เคยเกิดขึ้นกับอีเมลในปี 1990 วันนี้ไมโครซอฟท์เข้ามาจับธุรกิจในเรื่อง VoIP ซึ่งคู่ค้าและลูกค้าของเราก็ได้รับประโยชน์จากด้วยผลกำไรที่ดีขึ้นและโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นด้วย” นางสาวปฐมากล่าวเสริม ลดต้นทุน25-30เปอร์เซ็นต์ ลูกค้าทั่วโลกที่มีโอกาสทดลองใช้งานชุดซอฟต์แวร์ Microsoft Unified Communications ยืนยันถึงการทำงานด้วยเวลาที่ลดลงเนื่องจากประสิทธิภาพในการสื่อสาร รวมถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายลงจากเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเดิมๆ ร้อยละ 25 – 30 จากการวิเคราะห์ของบริษัทที่ปรึกษาอย่างฟอร์เรสเตอร์โดยการสนับสนุนของไมโครซอฟท์ยืนยันถึงสถิตินี้ว่าองค์กรจะสามารถบรรลุประสิทธิผลสุงสุดในการปรับปรุงองค์กร พร้อมทั้งลดค่าใช้จ่ายลงได้ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร Unified Communications ทั้งนี้ การศึกษาของฟอร์เรสเตอร์[1] ที่ได้ทำการวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับลูกค้า Microsoft Unified Communications จำนวน 15 ราย พบว่าลูกค้าได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนถึงร้อยละ 500 หลังจากการติดตั้ง Office Communications Server 2007 เป็นเวลา 3 ปี พันธมิตรเพียบ ในการเปิดตัวครั้งนี้ ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และนอร์เทล ได้ร่วมกับไมโครซอฟท์เผยถึงผลิตภัณฑ์ และบริการที่สร้างบนแพลตฟอร์ม Microsoft Unified Communications ทั้งนี้ ตั้งแต่ไมโครซอฟท์เปิดตัวโปรแกรมนี้คู่ค้าของไมโครซอฟท์ก็ได้รับการอบรมเพื่อที่จะช่วยลูกค้าในการติดตั้งซอฟต์แวร์ Microsoft Unified Communications การ์ทเนอร์ได้วิเคราะห์ไว้ว่าไมโครซอฟท์เป็นบริษัทที่แข็งแกร่งทางด้านคู่ค้าซึ่งมีความสามารถในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่สร้างคุณค่าเพิ่มให้กับลูกค้า มีการให้บริการในแบบมืออาชีพ และมีเครือข่ายที่กว้างขวาง และไมโครซอฟท์มีคู่ค้าที่มีความถนัดเฉพาะทางทั้งในเชิงเทคโนโลยีและการให้บริการ เช่นการสนทนาสด IP และ PBX นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังมีแอพลิเคชั่นพื้นฐานบนเดสก์ท็อป และประสบการณ์ในการออกแบบกราฟฟิกของส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน (user interface) ที่จะช่วยลดความซับซ้อนในการสื่อสารให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น นายอารมณ์ พรประพันธ์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กลุ่มธุรกิจเครือข่ายสำหรับองค์กร บริษัท นอร์เทล เน็ทเวิร์ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “การเป็นพันธมิตรระหว่างนอร์เทลและไมโครซอฟท์ในฐานะ Innovative Communications Alliance ช่วยสนับสนุนให้องค์กรธุรกิจทั่วภูมิภาคสามารถสัมผัสกับประสบการณ์การสื่อสารที่ครบวงจรสำหรับการดำเนินธุรกิจด้วยประสิทธิภาพและความง่ายดายในการใช้งาน ขณะเดียวกันก็สามารถใช้ร่วมกับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่แล้วเพื่อเป็นการช่วยให้บริษัทต่างๆไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม ทั้งนี้ นอร์เทลได้มอบผลิตภัณฑ์ unified communications solutions ที่สมบูรณ์ที่สุดที่สามารถใช้ได้ทั้งกับ VoIP, branch office, conferencing, IP phones, data networking และบริการที่ครบวงจรอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการทำงานของ Microsoft OCS อย่างมีประสิทธิภาพ”
ไมโครซอฟท์ดึงเอา Unified Communications Open Interoperability มาเป็นจุดยืนยันความสามารถในการทำงานร่วมกับระบบอื่น โปรแกรมดังกล่าวสามารถรองรับระบบโทรศัพท์ ทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ถึงการทำงานของชุดซอฟต์แวร์ Microsoft Unified Communications ร่วมกับระบบโทรศัพท์ จุดนี้ไมโครซอฟท์เชื่อว่าผลจากการสื่อสารแบบ Unified Communications จะชี้ให้เห็นถึงโฉมหน้าของอุตสาหกรรมการสื่อสาร และอุตสาหกรรมไอทีในอนาคตข้างหน้า
โดย ผู้จัดการออนไลน์
13 ธันวาคม 2550 15:13 น.
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9500000147832